Old Dzi 3 เม็ดนี้ ด้านข้าง เป็น 2 ตาสวัสดิกะเหมือนกัน มีการถูกขูดนำไปทำยาเหมือนกัน อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ (ความสมบูรณ์ของ Old Dzi ที่ผ่านการใช้งานมานับพันปี อยู่ในสภาพเช่นนี้ คือค่อนข้างสมบูรณ์) บริเวณที่ถูกขูดนำไปทำยานั้น จะพบว่าตัวหินมีสีขาวขุ่น ซึ่งเป็นหินที่ดี ร่องรอยสภาพอากาศ (Weathering Marks) ก็มีพอสมควร ตามสภาพการใช้งานที่สมบุกสมบัน หินด้านขวามือนั้นมีจุดแดงประปรายถือเป็นโบนัส ส่วนเม็ดซ้ายมือไม่มีจุดแดง เม็ดตรงกลางสีน้ำตาลอ่อนตัดขาว สภาพสมบูรณ์มากไม่มีร่องรอยบุบสลายซักเท่าไหร่ รอยสภาพอากาศ (Weathering Marks) มีทั่วเม็ดแต่ตื้นๆเท่านั้น ส่วนจุดแดงมีทั่วเม็ด แต่ไม่แดงเข้มเท่านั้นเอง เอาไว้เป็นกรณีการศึกษาหินเก่าครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 หิน 2 ตาด้านซ้ายมือจะเห็นว่ามีการขูดไปทำยาอย่างชัดเจนบริเวณปลายหิน และมีการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน รูปด้านล่างจะเห็นเส้นสีแดง จะพบว่าเป็น จุดแดงที่เป็นลักษณะเส้น (Cinnabar Line) และข้างๆ เส้นจะพบจุดเรืองแสงเล็กๆ เนื่องจากมีคริสตัลเกิดขึ้น (Crystaline formation) ร่องรอยสภาพอากาศกระจายไปทั่วไม่ลึกเท่าไหร่ ขนาดของหินเม็ดนี้ 2.4 ซ.ม.
ข้อมูลเพิ่มเติม 2 หิน 2 ตาด้านขวามือจะเห็นว่ามีการขูดไปทำยาอย่างชัดเจนบริเวณปลายหิน และมีการใช้งานอย่างสมบุกสมบันแต่ไม่เท่าเม็ดแรก จะพบว่าเป็น จุดแดง (Cinnabar Line) ได้กระจายอยู่แต่มีน้อยโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองภายหลัง และมีจุดเรืองแสงเล็กๆ เนื่องจากมีคริสตัลเกิดขึ้น (Crystaline formation) ร่องรอยสภาพอากาศกระจายไปทั่วและลึกพอสมควร ขนาดของหินเม็ดนี้ 2.2 ซ.ม.
ข้อมูลเพิ่มเติม 3 หิน 2 ตาเม็ดกลางขนาด 1.8 ซ.ม. นับเป็น Long Dzi เพราะ Short Dzi จะเล็กกว่า 1.5 ซ.ม. หินอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และพบว่าเป็น จุดแดง (Cinnabar dots) ได้กระจายอยู่เต็มเม็ดไม่ค่อยแดงนัก จะออกดำอ่อนๆ เป็นหินตัวอย่างที่ดีสำหรับคนที่ต้องการรู้ว่า จุดแดงที่เกิดขึ้นหลังจากการใส่ กับจุดแดงที่มีอยู่ในเนื้อหินอยู่แล้วต่างกันอย่างไร ร่องรอยสภาพอากาศ (Weathering Mark) กระจายไปทั่วแต่ไม่ลึก เนื่องจากเป็นหินที่มีความมันคลุมไว้ซึ่งตรงนี้เองที่รักษาหินให้ไม่ค่อยมีร่องรอยซักเท่าไร
หมายเหตุ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่รูปหินธิเบตนี้ในเชิงการค้าโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งหินในรูปนี้เป็นของทางร้านนุดา เจมส์